คู่มือการใช้งานบอร์ด RoboFi

สำหรับ Arduino IDE

การใช้งานบอร์ดหุ่นยนต์ RoboFi เบื้องต้น

คู่มือการใช้งานบอร์ด RoboFi จะเป็น Quck Start Guide ที่จะช่วยให้คุณสามารถทดสอบและใช้งานบอร์ด RoboFi ได้ เนื้อหาถูกแบ่งเป็นหัวข้อ รายละเอียดดังนี้

การติดตั้งโปรแกรม

ติดตั้งโปรแกรม Aruino IDE

ติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE แนะนำเป็นเวอร์ชั่น 1.8.X โดยดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่  https://www.arduino.cc/en/software

ติดตั้งบอร์ด ESP32 บน Arduino IDE

ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการติดตั้งบอร์ด ESP32 เพื่อให้โปรแกรม Arduino สามารถใช้เลือกใช้งานบอร์ด ESP32 ได้ ขั้นตอนดังนี้


2. ที่ช่อง  “Additional Board Manager URLs” ให้วางคัดลอกลิงค์ดังต่อไปนี้แล้วไปวาง 

https://raw.githubusercontent.com/espressif/arduino-esp32/gh-pages/package_esp32_index.json


3. เข้าไปที่  Tools > Board > Boards Manager… จากนั้นพิมพ์คำว่า esp32  ที่ช่องค้นหา กดปุ่ม install เพื่อติดตั้งบอร์ด จะใช้เวลาซักครู่


4. เมื่อติดตั้งบอร์ดเสร็จเรียบร้อย ในเมนู Tools > Board  จะปรากฏเมนูบอร์ด ESP32 ให้เลือก ให้กดเลือกบอร์ดที่ชื่อว่า ESP32 Dev Module


5. ตรวจสอบ Port การเชื่อมต่อ โดยการเข้าไปที่ Device Manager ของ Windows

6. เลือกหมายเลข COM PORT ให้ตรงกับที่โชว์ใน Device Manager หากไม่พบให้ลง Driver ก่อน โดยดาวน์โหลด Driver ได้จาก

https://cdn.sparkfun.com/assets/learn_tutorials/8/4/4/CH341SER.EXE

การติดตั้งไลบรารี่ที่เกี่ยวข้อง

2. ติดตั้งไลบรารี่ RoboFi โดยพิมพ์ที่ช่องค้นหาว่า "RoboFi" แล้วกด Install

3. ติดตั้งไลบรารี่เกี่ยวกับจอ LCD โดยมีไลบรารี่ที่เกี่ยวข้องคือ Adrafrute_GFX 

การทดสอบบอร์ด

การทดสอบสามารถทำได้โดยการ include ไฟล์ไลบรารี่ชื่อ RoboFi.h จากนั้นใช้คำสั่ง demo เพื่อทดสอบการทำงานของบอร์ด ดังนี้

#include <RoboFi.h>

void setup() {

    demo();

}


void loop() {

}

โปรแกรม demo จะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ทั้งหมดบนบอร์ด เช่น เซ็นเซอร์ ลำโพง หน้าจอ ล้อทั้ง 4 ล้อ เซอร์โวมอเตอร์ และสวิตซ์ เมื่ออัพโหลดโค้ดลงบนบอร์ดเสร็จแล้ว กดปุ่ม OK จะได้ผลลัพธ์ดังวิดีโอการทดสอบ

คัดลอกโค้ดทดสอบข้างบน แล้วนำมาวางที่โปรแกรม Arduino IDE จากนั้นกด Upload 


เมื่อโปรแกรม Upload เสร็จสมบูรณ์จะขึ้นคำว่า Done Uploading 

วิดีโอทดสอบ

การใช้งานบอร์ด RoboFi 

จุดเชื่อมต่อ

บอร์ด RoboFi มีจุดเชื่อมต่อต่างๆ  แสดงดังภาพ

จากภาพ จุดเชื่อมต่อประกอบด้วย

นอกจากนี้อุปกรณ์บนบอร์ดที่สามารถใช้งานได้ ประกอบด้วย

* หมายเหตุ  แหล่งจ่ายไฟควรสามารถจ่ายกระแสให้ไดเพียงพอเพื่อเสถียรภาพในการใช้งาน

การใช้งานพอร์ต (Port Mapping)

บอร์ด RoboFi ใช้หน่วยประมวลผลเป็นชิพ ESP32 โดยการใช้งานพอร์ตต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้

ฟังก์ชันพร้อมใช้ (Built-in Function)

บอร์ด RoboFi มาพร้อมกับไลบรารี่ RoboFi.h ที่อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาให้สามารถใช้บอร์ดได้ง่ายมากขึ้น โดยจัดเตรียมคำสั่งต่าง ๆ ไว้ดังนี้

* ปัจจุบันเวอร์ชั่น 1.0.0 สามารถ Update ได้ทาง Library Manager หรือทาง https://github.com/nacademyth/RoboFi